วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี
1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
http://oxygen.readyplanet.com/images/1184898847/1907200702.jpg2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน


ประเภทของ E-Commerce
1.E-Commerce แบบ C <–> B เป็นลักษณะการค้าระหว่างผู้ซื้อหรือผู้บริโภค (Customer)กับผู้ขาย (Business)ซึ่งเป็นการซื้อสินค้าที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือจากร้านขายหนังสือ
2.E-Commerce แบบ B <–> B เป็นลักษณะการค้าระหว่างผู้ขาย (Business)กับผู้ขาย(Business) ซึ่งเป็นการขายสินค้าที่มีจำนวนมากขึ้น ต้องการความปลอดภัยมากขึ้น เช่น ร้านขายหนังสือต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์
3.E-Commerce แบบ B <–> C เป็นลักษณะการค้าระหว่างผู้ขาย(Business) กับผู้ซื้อ(Customer) เช่นโรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน
4.E-Commerce แบบ C <–> C เป็นลักษณะการค้าระหว่างผู้ซื้อ(Customer) กับผู้ซื้อ(Customer) เช่นผู้ซื้อต้องการขายรถยนต์ของตนเองให้กับผู้ซื้ออีกคน

ความสัมพันธ์ในระบบการค้าอิเล็กทรอนิค(E-Commerce)
การดำเนินธุระกิจการค้าบนอินเทอร์เนตหรือ E-Commerce จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้อง โดยจะต้องมีการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การค้าอิเล็กทรอนิคประสบความสำเร็จตามที่ได้มุ่งหวังไว้ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกันในระบบการค้าบนอินเทอร์เนตหรือ E-Commerce มีดังนี้


เราสามารถแบ่งหน้าที่ของแต่ละส่วนได้คราวๆ ดังนี้
ธนาคาร
1.เป็น Payment Gateway ก็คือจะตรวจสอบและอนุมัติวงเงินของผู้ที่ถือบัตร เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ
2.ให้บริการบนอินเทอร์เนตผ่านทางระบบของธนาคาร โดยธนาคารจะโอนเงินค่าสินค้า หรือบริการนั้นๆ เข้าบัญชีของร้านค้า หรือสมาชิก


Transaction Processing Service Provider(TPSP) 
หน้าที่
1.เป็นองค์กรผู้บริหาร และพัฒนาโปรแกรมการประมวลผลการชำระค่าสินค้าหรือบริการบนอินเทอร์เนต
2.ให้บริการผ่านอินเทอร์เนตกับร้านค้า หรือ Internet Service Provider(ISP)ต่างๆ ผ่าน Gateway
3.TPSP สามารถต่อเชื่อมระบบให้กับทุกๆ ร้านค้าหรือทุกๆ ISP และสามารถชำระเงินบนอินเทอร์เนตผ่านทาง Gateway ของธนาคารได้


ลูกค้า(Customer) หน้าที่
1.สามารถชำระเงินค่าสินค้า หรือบริการได้ด้วย บัตรเครดิต บัตรเครดิตวีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ดจากทุกสถาบันการเงินทั่วโลก
2.สามารถชำระเงินค่าสินค้า หรือบริการได้ด้วยระบบหักบัญชีเงินฝากของธนาคาร


ร้านค้า (Merchant) หน้าที่
1.เปิดร้านขายสินค้าหรือบริการผ่านระบบอินเทอร์เนต โดยการเปิด Home Page บน Site ของตนเอง
2.หรือเปิดร้านขายสินค้าหรือบริการโดยการฝาก Home Page ไว้กับ Web Site หรือ Virtual Mall ต่างๆเพื่อขายสินค้าหรือบริการผ่านระบบของธนาคาร
3.ร้านค้าต้องเปิดบัญชีและสมัครเป็นร้านค้าสมาชิก E-Commerce กับธนาคารก่อน

Internet Service Provider (ISP) หน้าที่
1.เป็นองค์กรผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทางอินเทอร์เนตให้กับลูกค้า ซึ่งลูกค้าในที่นี้อาจจะเป็นร้านค้าหรือบุคคลทั่วไป
2.รับและจดทะเบียน Domain หรือจัดตั้ง Virtual Mall เพื่อให้ร้านค้านำ Home Page มาฝากเพื่อขายสินค้า
จากที่ได้กล่าวมาก็เป็นส่วนหลักๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบร้านค้าอิเล็กทรอนิค ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอะไรที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่เรามาพูดให้รายละเอียดมากขึ้นเพื่อเพื่อนสมาชิกบางคนจะได้เข้าใจกันมากขึ้น สำหรับสัปดาห์นี้คงต้องพอคราวๆ กันแค่นี้ก่อนนะครับ พบกันในครั้งต่อไป เราก็จะมาให้รายละเอียดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการร้านค้า E-Commerce กันต่อ


ขั้นตอนการเปิดร้านเพื่อดำเนินการค้าแบบ E-Commerce

จากรูปจะเห็นว่าลำดับขั้นตอนในแต่ละขั้นตอนเพื่อการเปิดร้านค้าแบบ E-Commerce นั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากซับซ้อนเลยใช่ไหมครับ
1. ในขั้นตอนแรกนั้นถ้าเราเขียน Home Page ไม่เป็นเราจะศึกษาด้วยตัวเอง หรือเพื่อเป็นการประหยัดเวลาเราสามารถจ้างให้คนอื่นเขียนเว็บไซต์ให้หรือว่าใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปที่มีให้บริการอยู่หลายเว็บไซต์ หรือจะใช้บริการกับ ReadyPlanet ของเราก็ได้ครับ
2. หลังจากที่ดำเนินการในขั้นตอนแรกเสร็จแล้ว มี Home Page เป็นของตัวเองแล้วจากนั้นก็มาดำเนินการจด Domain กับเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการ
3. เมื่อมี Domain เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการเปิดบริการการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เราก็ต้องมาดำเนินการจดทะเบียนเพื่อรอรับโปรแกรมการชำระเงินผ่านทางอินเทอร์เนตจากผู้ให้บริการ TPSP
4. จากนั้นก็ขออนุมัติการเปิดร้านค้าและบัญชีเงินฝากจากธนาคารใดก็ได้ที่ให้บริการการชำระเงินผ่านทางอินเทอร์เนต เพื่อรองรับการชำระเงิน
5. หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เรามีร้านค้าแบบ E-Commerce เป็นของเราเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถดำเนินการธุรกิจการค้า E-Commerce ได้เลยครับ



ระบบรักษาความปลอดภัย
เนื่องจากระบบร้านค้าแบบ E-Commerce ได้เปิดให้บริการการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิตด้วย ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยเรื่องการชำระเงินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งและเป็นตัวสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซด์ของเรา ดังนั้นเราจึงขอพูดถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เนตเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมแก่เพื่อนๆ สมาชิก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. Encryption เป็นการเข้ารหัสและถอดรหัสระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำกิจกรรมซื้อขายในเครือข่ายอินเทอร์เนตหรือระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ ซึ่งระบบนี้เป็นระบบที่ยอมรับกันทั่วไปบนอินเทอร์เนต
2. Authentication เป็นระบบสำหรับตรวจสอบ ซึ่งจะตรวจสอบว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตตัวจริงให้เข้าถึงระบบและบริการในชั้นที่กำหนดให้ โดยให้แจ้งข้อมูล Password ของผู้ได้รับอนุญาต
3. Firewalls เป็นระบบที่ทำงานร่วมกันระหว่าง Hard และ Software โดย Firewalls จะวางอยู่ระหว่างเครือข่ายภายในองค์กร (Local Network)และเครือข่ายภายนอก (Internet) เพื่อป้องกันการบุกรุกจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาขโมยข้อมูลหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล (Hacker) โดยผ่านทางเครือข่ายภายนอก (Internet)
4. PKI System (Public Infrastructure) เป็นกลุ่มข้อ Security Services ซึ่งปรกติจัดให้โดย Certificate (CA), Authentication, Encryption และ Certificate Management ใช้เทคโนโลยีการเข้าและถอดรหัสโดยกุญแจสาธารณะ

ความแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับ E -commerce


  • การทําธุรกิจทั่วไป เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ กิจกรรมที่เกี่ยวกับธนาคาร การขนส่ง หรือกระบวนการทั้งปวงของการนําทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนสภาพด้วยกระบวนการต่างๆจนเป็นสินค้าาและนําไปจําหน่ายให้แก่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงลูกค้าได้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น

  • E-Commerce สามารถเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้ง่ายเนื่องจากเปิดร้านค้าในอินเทอร์เน็ตช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายสามารถตดติ ่อลูกค้าได้ตลอดเวลาและลูกค้าสามารถติดต่อธุรกิจโดยตรง นอกจากนี้การทําพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถสร้างข้อได้เปรียบทางการค้าจากรูปแบบเดิมเช่น เว็บเพจสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติทําให้ลดภาระเรื่องแรงงาน, สามารถเข้าถึงผู้ซื้อได้ทั่วโลก, สะดวกรวดเร็ว, ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าได้จากทุกที่โดยไม่ต้องมาที่ร้าน และร้านค้าทางอินเทอร์เน็ตยังสามารถทําการคาได้ ตลอด 24 ชั่วโมงดังนั้น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ

ในภาวการณ์แข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงในขณะนี้ประเด็นที่จะทําให้ธุรกิจทั้งสองแบบนี้แตกต่างกัน มีดังนี้


  •  การติดต่อซื้อขายธุรกิจ E-Commerce กับการติดต่อสื่อสารและเชื่อมโยงธุรกิจเข้าด้วยกันนั้น จะทําได้ง่ายสามารถทําได้แบบReal Time ส่วนธุรกิจทั่วไป จะมีประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารและการเชื่อมโยงธุรกิจที่กระทําการได้ช้ากว่าธุรกิจแบบ E-Commerce เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทํางานจะน้อยกว่าธรุกิจแบบ E-Commerce 

  •  การเข้าถึงธุรกิจธุรกิจ E-Commerce มีการทํางานอยู่ในสื่อที่หลากหลายรูปแบบ ทําให้ผู้คนนั้นสามารถเข้าถึงธรุกิจได้จากทั่วทุกมุมโลกส่วนธุรกิจทั่วไป จะมีการทํางานอยู่ในรูปแบบทตายตัวโดยการเปิดหน้าร้านขายสินค้าหรือบริการแบบปกติที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้เฉพาะพื้นที่นั้นๆ

  •  การเป็นมาตรฐานเดียวกันธุรกิจ E-Commerce ส่วนใหญแล่ ้วนั้นจะมีมาตรฐานเดียวกันในการรับส่งข้อมูลเช่น มาตรฐานการรับส่งข้อมูลผ่านเว็บไซต์ที่ธุรกิจสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างธุรกิจด้วยกันเอง หรือต่างธุรกิจได้ส่วนธุรกิจทั่วไป มักจะมีมาตรฐานการทํางานหรือข้อมูลทแตกต่างกัน ธุรกิจแต่ละธุรกิจก็จะมีมาตรฐานเป็นของตัวเอง

  • ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดําเนินธุรกิจธุรกิจ E-Commerce จะมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการสร้างระบบ E-Commerce ที่จะต้องมีกาจ่ายค่าอุปกรณ์และค่าบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีที่จะนํามาใช้งานในระบบ E-Commerce แต่ธรุกิจประเภทนี้จะประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของหน้าร้านเนื่องจากไม่ต้องมีหน้าร้านที่ตึกหรืออาคารใดๆใช้เพียงพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตส่วนธุรกิจทั่วไป

  • โอกาสทางการค้าธุรกิจ E-Commerce จะมีโอกาสทางการค้าสูงมากเนื่องจากธุรกิจแบบนี้จะสามารถขายสินค้าและบริการไปได้ทั่วโลกเข้าถึงกลุ่มลูกค้าไดมาก จึงทําให้โอกาสทางการค้านั้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆส่วนธุรกิจทั่วไป โอกาสทางการค้าจะน้อยกว่าธุรกิจ E-Commerce
  • การกระจายสินค้าและบรการ ธุรกิจ E-Commerce เป็นธุรกิจที่สามารถกระจายสินคาและบริการออกมาใหม่ ให้ลูกค้าและกลุ่มผู้บริโภคเข้าถึงและรับทราบข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเพราะการกระจายข้อมูลสินค้าและบริการจะถูกกระทําผานเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความรวดเร็วส่วนธุรกิจทั่วไป การกระจายสินค้าและบริการจะกระทําแบบเดิมคือการส่งสินค้าไปตามสาขา หรือเครือข่ายธรุกิจด้วยกันเองจึงอาจทําให้ข้อมูลสินค้าและบริการนั้นเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ล้าช้า
  • ความน่าเชื่อถือธุรกิจ E-Commerce มักจะขาดความน่าเชื่อถือเพราะการค้าแบบ จะดําเนินการผ่านสื่อหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กลมผู้บริโภคจะไม่สามารถจับต้องสินค้าและบริการได้ส่วนธุรกิจทั่วไปความน่าเชื่อถือจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าเพราะการค้าที่ผู้บริโภคเห็นว่ามีตัวตนจริงสินค้าและบริกาสามารถจับต้องได้ทําให้การค้าแบบธุรกิจทั่วไปมีความน่าเชื่อถือสูง

Enterprise Resource Planning :ERP


แนวคิดของการพัฒนาระบบการบริหารการผลิตรวม      

               แนวคิด ERP เริ่มในยุคปี ค.ศ. 1990 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จุดกำเนิดเริ่มแรกของ ERP มาจากแนวคิดของการพัฒนาระบบการบริหารการผลิตรวม (Material Requirement Resource Planning / Manufacturing Resource Planning, MRP System) ของอุตสาหกรรมการผลิตในอเมริกา โดยคำว่า ERP และแนวคิดของ ERP นั้นก็พัฒนามาจาก MRP ในที่นี้จะทำการอธิบาย ความเป็นมาของ MRP โดยย่อว่ามีความเป็นมาอย่างไร และทำไมจึงพัฒนามาเป็น ERP ได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความหมายของ ERP ได้ดียิ่งขึ้น และตัวแนวคิด ERP เองก็ยังมีวิวัฒนาการอยู่ จาก ERP ก็จะเป็น Extended ERP และจะพัฒนาไปเป็น Next Generation ERP ต่อไปในอนาคต
               1.  กำเนิดของ MRP แนวคิดMRPเกิดขึ้นครั้งแรกที่อเมริกาในยุคต้นของ ทศวรรษ 1960 ในช่วงแรก MRP ย่อมาจาก Material Requirement Planning (การวางแผนความต้องการวัสดุ) เป็นวิธีการในการหาชนิดและจำนวนวัสดุที่ต้องใช้ในการผลิตตามตารางเวลาและจำนวนสินค้าที่ได้วางแผนโดย MPS (Master Production Schedule)
               2. Closed Loop MRP ย่างเข้ายุคปี ค.ศ. 1970 MRP ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการป้อนกลับข้อมูลการผลิตจริงใน shop floor นอกจากนั้นยังเพิ่มแนวคิดเรื่อง การวางแผนความต้องการกำลังการผลิต (Capacity Requirement Planning)
               3.  การพัฒนาไปสู่ MRP II จากความสำเร็จของ Closed Loop MRP ก็เกิดการพัฒนาต่อยอดขึ้นเป็น MRP II ในยุคปี ค.ศ. 1980 (โดย MRP ใหม่นี้ย่อมาจาก Manufacturing Resource Planning) ซึ่งได้รวมการวางแผนและบริหารทรัพยากรการผลิตอื่นๆ นอกจากการวางแผนและควบคุมกำลังการผลิต และวัตถุดิบการผลิต เข้าไปในระบบด้วย
               4. จาก MRP II ไปเป็น ERP MRP II เป็นแนวคิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ERP ได้ขยายแนวคิดของ MRP II ให้สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรของธุรกิจที่หลากหลาย โดยการรวมระบบงานหลักทุกอย่างในองค์กรเข้ามาเป็นระบบเดียวกันลักษณะของ ERP
       ERP (Enterprise Resource Planning) สามารถจัดการ Transaction Cycle ได้หมดดังนี้
             - Expenditure
             - Conversion
             - Revenue
             - Financial
        ERP เป็น Software ที่ใช้ในการ Manage ได้ทั้งองค์กร โดยที่มี common Database เก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล ทำให้มีประสิทธิภาพ มีการ Share ข้อมูลสูงสุด โดยแต่ละส่วนสามารถดึงข้อมูลส่วนกลางที่ตัวเองสนใจมาวิเคราะห์ได้ และ สามารถที่จะ Integrate ได้หมดไม่ว่าจะเป็น Marketing Manufacturing Accounting และ Staffing

Customer Relationship Management (CRM)


สำหรับธุรกิจที่ต้องจำหน่ายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าโดยตรงไม่ว่าลูกค้าจะหมายถึงลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคหรือลูกค้าที่เป็นคนกลางในช่องทางการตลาด 
    • แนวคิดพื้นฐานของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
      • การพัฒนาระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมีสิ่งสำคัญที่เป็นหลักของการบริหาร คือ การตระหนักถึงความสำคัญของลูกค้าแต่ละราย ว่าลูกค้าแต่ละรายนั้นมีความสำคัญไม่เท่ากัน การที่องค์กรสามารถทำให้ลูกค้าจงรักภักดีต่อองค์กรได้นั้น เป็นหัวใจหลักในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจระยะยาว
    • บทบาทแนวคิดการตลาดสร้างความสัมพันธ์ศตวรรษที่ 21
      •  ต้นกำเนิดแนวคิดเรื่องการตลาดสร้างสัมพันธ์ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของCRM มาจากสหรัฐอเมริกา ในตอนต้นศตวรรษ 1980 บางกระแสว่ามีต้นกำเนิดมาจากตลาดบริการ แต่บางแนวคิดเชื่อว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากอุตสาหกรรม ธุรกิจในประเทศไทยเริ่มมีการนำแนวคิดนี้มาใช้อย่างจริงจังในราว 1 ปี จวบจนปัจจุบันแนวคิดนี้กลับเป็นที่แพร่หลายอย่างมาก ทั้งในตลาดบริโภคและตลาดอุตสาหกรรมอันเนื่องมาจาก
    • แนวคิดการตลาดแบบแลกเปลี่ยน
      • ในระบบการตลาดที่ซับซ้อนทำให้ผู้ผลิตไม่ได้อยู่ในฐานะผู้ดำเนินงานการผลิตและการขายสินค้าที่ถูกส่งออกมาจากโรงงานกระจายไปตามช่องทางการตลาดจนไปถึงมือผู้บริโภค ไม่ได้เกิดจากตลาดแบบแลกเปลี่ยน (Transactional Marketing ) อีกต่อไปแต่เกิดจากความสัมพันธ์ทางการตลาดระหว่างผู้ผลิตกับคนกลางทางการตลาด  ผู้ผลิตกับผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้ผลิตกับผู้บริโภค และคนกลางทางการตลาดกับผู้บริโภค(Relational Marketing )

Electronic Data Interchange Law : EDI

กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 
(Electronic Commerce Law)
  • ปัญหาในการประกอบกิจการ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    • ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศยังไม่มีเพียงพอ
    • ปัญหาในด้านความปลอดภัย (Security)
    • ปัญหาในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property)
    • ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานทางกฏหมาย
  • กฎหมาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    • กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange Law- EDI )
    • กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
    • กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
    • กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
    • กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
  • กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange Law -EDI)
    • เพื่อรับรองสถานะ ทางกฎหมาย ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆโดยเฉพาะในวงการค้าการ ขนส่งระหว่างประเทศทำให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทั้งด้านเวลา และสถานที่ โดยการใช้มาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไปในรูปแบบ(format) และโครงสร้างข้อมูลที่ส่งถึงกัน