ข้อดี
1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์
และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน
ประเภทของ E-Commerce
1.E-Commerce แบบ C <–> B เป็นลักษณะการค้าระหว่างผู้ซื้อหรือผู้บริโภค (Customer)กับผู้ขาย (Business)ซึ่งเป็นการซื้อสินค้าที่พบเห็นได้ทั่วไป
เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือจากร้านขายหนังสือ
2.E-Commerce แบบ B <–> B เป็นลักษณะการค้าระหว่างผู้ขาย (Business)กับผู้ขาย(Business)
ซึ่งเป็นการขายสินค้าที่มีจำนวนมากขึ้น
ต้องการความปลอดภัยมากขึ้น เช่น ร้านขายหนังสือต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์
3.E-Commerce แบบ B <–> C เป็นลักษณะการค้าระหว่างผู้ขาย(Business) กับผู้ซื้อ(Customer)
เช่นโรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน
4.E-Commerce แบบ C <–> C เป็นลักษณะการค้าระหว่างผู้ซื้อ(Customer)
กับผู้ซื้อ(Customer)
เช่นผู้ซื้อต้องการขายรถยนต์ของตนเองให้กับผู้ซื้ออีกคน
ความสัมพันธ์ในระบบการค้าอิเล็กทรอนิค(E-Commerce)
การดำเนินธุระกิจการค้าบนอินเทอร์เนตหรือ
E-Commerce จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้อง
โดยจะต้องมีการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้การค้าอิเล็กทรอนิคประสบความสำเร็จตามที่ได้มุ่งหวังไว้
โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกันในระบบการค้าบนอินเทอร์เนตหรือ E-Commerce มีดังนี้

เราสามารถแบ่งหน้าที่ของแต่ละส่วนได้คราวๆ ดังนี้
ธนาคาร
1.เป็น Payment Gateway ก็คือจะตรวจสอบและอนุมัติวงเงินของผู้ที่ถือบัตร
เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ
2.ให้บริการบนอินเทอร์เนตผ่านทางระบบของธนาคาร
โดยธนาคารจะโอนเงินค่าสินค้า หรือบริการนั้นๆ เข้าบัญชีของร้านค้า หรือสมาชิก
Transaction Processing Service Provider(TPSP)
หน้าที่
1.เป็นองค์กรผู้บริหาร
และพัฒนาโปรแกรมการประมวลผลการชำระค่าสินค้าหรือบริการบนอินเทอร์เนต
2.ให้บริการผ่านอินเทอร์เนตกับร้านค้า หรือ Internet Service
Provider(ISP)ต่างๆ ผ่าน Gateway
3.TPSP สามารถต่อเชื่อมระบบให้กับทุกๆ ร้านค้าหรือทุกๆ ISP และสามารถชำระเงินบนอินเทอร์เนตผ่านทาง
Gateway ของธนาคารได้
ลูกค้า(Customer) หน้าที่
1.สามารถชำระเงินค่าสินค้า หรือบริการได้ด้วย บัตรเครดิต
บัตรเครดิตวีซ่า หรือมาสเตอร์การ์ดจากทุกสถาบันการเงินทั่วโลก
2.สามารถชำระเงินค่าสินค้า
หรือบริการได้ด้วยระบบหักบัญชีเงินฝากของธนาคาร
ร้านค้า (Merchant) หน้าที่
1.เปิดร้านขายสินค้าหรือบริการผ่านระบบอินเทอร์เนต โดยการเปิด Home
Page บน Site ของตนเอง
2.หรือเปิดร้านขายสินค้าหรือบริการโดยการฝาก Home Page ไว้กับ Web
Site หรือ Virtual Mall ต่างๆเพื่อขายสินค้าหรือบริการผ่านระบบของธนาคาร
3.ร้านค้าต้องเปิดบัญชีและสมัครเป็นร้านค้าสมาชิก E-Commerce กับธนาคารก่อน
Internet Service Provider (ISP) หน้าที่
1.เป็นองค์กรผู้ให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทางอินเทอร์เนตให้กับลูกค้า
ซึ่งลูกค้าในที่นี้อาจจะเป็นร้านค้าหรือบุคคลทั่วไป
2.รับและจดทะเบียน Domain หรือจัดตั้ง Virtual Mall เพื่อให้ร้านค้านำ
Home Page มาฝากเพื่อขายสินค้า
จากที่ได้กล่าวมาก็เป็นส่วนหลักๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบร้านค้าอิเล็กทรอนิค ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอะไรที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่เรามาพูดให้รายละเอียดมากขึ้นเพื่อเพื่อนสมาชิกบางคนจะได้เข้าใจกันมากขึ้น สำหรับสัปดาห์นี้คงต้องพอคราวๆ กันแค่นี้ก่อนนะครับ พบกันในครั้งต่อไป เราก็จะมาให้รายละเอียดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการร้านค้า E-Commerce กันต่อ
จากที่ได้กล่าวมาก็เป็นส่วนหลักๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบร้านค้าอิเล็กทรอนิค ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอะไรที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่เรามาพูดให้รายละเอียดมากขึ้นเพื่อเพื่อนสมาชิกบางคนจะได้เข้าใจกันมากขึ้น สำหรับสัปดาห์นี้คงต้องพอคราวๆ กันแค่นี้ก่อนนะครับ พบกันในครั้งต่อไป เราก็จะมาให้รายละเอียดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการร้านค้า E-Commerce กันต่อ
ขั้นตอนการเปิดร้านเพื่อดำเนินการค้าแบบ E-Commerce

จากรูปจะเห็นว่าลำดับขั้นตอนในแต่ละขั้นตอนเพื่อการเปิดร้านค้าแบบ E-Commerce
นั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากซับซ้อนเลยใช่ไหมครับ
1. ในขั้นตอนแรกนั้นถ้าเราเขียน Home Page ไม่เป็นเราจะศึกษาด้วยตัวเอง หรือเพื่อเป็นการประหยัดเวลาเราสามารถจ้างให้คนอื่นเขียนเว็บไซต์ให้หรือว่าใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปที่มีให้บริการอยู่หลายเว็บไซต์ หรือจะใช้บริการกับ ReadyPlanet ของเราก็ได้ครับ
2. หลังจากที่ดำเนินการในขั้นตอนแรกเสร็จแล้ว มี Home Page เป็นของตัวเองแล้วจากนั้นก็มาดำเนินการจด Domain กับเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการ
3. เมื่อมี Domain เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการเปิดบริการการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เราก็ต้องมาดำเนินการจดทะเบียนเพื่อรอรับโปรแกรมการชำระเงินผ่านทางอินเทอร์เนตจากผู้ให้บริการ TPSP
4. จากนั้นก็ขออนุมัติการเปิดร้านค้าและบัญชีเงินฝากจากธนาคารใดก็ได้ที่ให้บริการการชำระเงินผ่านทางอินเทอร์เนต เพื่อรองรับการชำระเงิน
5. หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เรามีร้านค้าแบบ E-Commerce เป็นของเราเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถดำเนินการธุรกิจการค้า E-Commerce ได้เลยครับ
1. ในขั้นตอนแรกนั้นถ้าเราเขียน Home Page ไม่เป็นเราจะศึกษาด้วยตัวเอง หรือเพื่อเป็นการประหยัดเวลาเราสามารถจ้างให้คนอื่นเขียนเว็บไซต์ให้หรือว่าใช้บริการเว็บไซต์สำเร็จรูปที่มีให้บริการอยู่หลายเว็บไซต์ หรือจะใช้บริการกับ ReadyPlanet ของเราก็ได้ครับ
2. หลังจากที่ดำเนินการในขั้นตอนแรกเสร็จแล้ว มี Home Page เป็นของตัวเองแล้วจากนั้นก็มาดำเนินการจด Domain กับเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการ
3. เมื่อมี Domain เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการเปิดบริการการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เราก็ต้องมาดำเนินการจดทะเบียนเพื่อรอรับโปรแกรมการชำระเงินผ่านทางอินเทอร์เนตจากผู้ให้บริการ TPSP
4. จากนั้นก็ขออนุมัติการเปิดร้านค้าและบัญชีเงินฝากจากธนาคารใดก็ได้ที่ให้บริการการชำระเงินผ่านทางอินเทอร์เนต เพื่อรองรับการชำระเงิน
5. หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เรามีร้านค้าแบบ E-Commerce เป็นของเราเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถดำเนินการธุรกิจการค้า E-Commerce ได้เลยครับ
ระบบรักษาความปลอดภัย
เนื่องจากระบบร้านค้าแบบ
E-Commerce ได้เปิดให้บริการการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิตด้วย
ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยเรื่องการชำระเงินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งและเป็นตัวสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซด์ของเรา
ดังนั้นเราจึงขอพูดถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เนตเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมแก่เพื่อนๆ
สมาชิก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. Encryption เป็นการเข้ารหัสและถอดรหัสระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำกิจกรรมซื้อขายในเครือข่ายอินเทอร์เนตหรือระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ
ซึ่งระบบนี้เป็นระบบที่ยอมรับกันทั่วไปบนอินเทอร์เนต
2. Authentication เป็นระบบสำหรับตรวจสอบ
ซึ่งจะตรวจสอบว่าเป็นผู้ได้รับอนุญาตตัวจริงให้เข้าถึงระบบและบริการในชั้นที่กำหนดให้
โดยให้แจ้งข้อมูล Password ของผู้ได้รับอนุญาต
3. Firewalls เป็นระบบที่ทำงานร่วมกันระหว่าง Hard และ Software
โดย
Firewalls จะวางอยู่ระหว่างเครือข่ายภายในองค์กร (Local Network)และเครือข่ายภายนอก
(Internet) เพื่อป้องกันการบุกรุกจากบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาขโมยข้อมูลหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
(Hacker) โดยผ่านทางเครือข่ายภายนอก (Internet)
4. PKI System (Public Infrastructure) เป็นกลุ่มข้อ Security Services ซึ่งปรกติจัดให้โดย
Certificate (CA), Authentication, Encryption และ Certificate
Management ใช้เทคโนโลยีการเข้าและถอดรหัสโดยกุญแจสาธารณะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น