วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

E-commerce

ตัวอย่าง E-commerce



E-Commerce:: Design ตามหลัก 7Cs

        ยกตัวอย่างเว็บไซต์ E-commerce มาคนละ 2 เว็บ อธิบายเทคนิคที่เว็บไซต์ใช้ในการdesign ตามหลัก 7Cs (context Content community Customization Communication Connection Commerce

EX.I  >> http://www.goodchilltravel.com/  เว็บการพาทัวร์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ


 :: ภาพตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ www.goodchilltravel.com ::

  1. รูปลักษณ์ (Context)
    มีโครงสร้างรูปแบบและการจัดวางขององค์ประกอบต่าง ๆ โดยรวมภายในเว็บไซต์ที่มี
    ความเหมาะสมในการช่วยสื่อความหมายให้เว็บไซต์มีการเข้าใช้งานง่ายและสามารถ
    เข้าไปดูเนื้อหาหรือรายละเอียดของเว็บไซต์ได้อย่างทั่วถึง
    หลักการจัดวางองค์ประกอบของเว็บไซต์
    - Page Variants
    - Fragment Variants
    - Frame-Based
  2. เนื้อหา (Content)
  1. เนื้อหาของเว็บเพจจะเป็นข้อความ (Text) และมีการผสมผสานระหว่างข้อความ ภาพนิ่ง
    ภาพเคลื่อนไหวเข้าด้วยกัน เป็นสื่อปฏิสัมพันธ์ โดยเนื้อหาทั้งหมดของหน้าเว็บไซต์นี้มี
    ความชัดเจน เป็นระเบียบ ถูกต้องสวยงาม มีความน่าสนใจในการเข้าดูเว็บไซต์ และมี
    ข้อมูลเป็นปัจจุบัน

    >>ภาพแสดงสินค้าของเว็บไซต์<<
    3. ชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสาร (Community)
                     การออกแบบเว็บไซต์นี้ เป็นการคำนึงถึงเครื่องมือที่ใช้สำหรับติดต่อระหว่างกันภายในชุมชนหรือการที่ลูกค้าหลาย ๆ คนเกิดความสนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อให้อำนวยความสะดวกในการแสดงข้อคิดเห็นของลูกค้า และทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารให้กับลูกค้าได้ ทั้งทางด้าน E-mail และ Web Board
      
         4.การปรับแต่ง (Customization)
                   การออกแบบเว็บไซต์นี้ มีการตกแต่งรูปลักษณ์ให้ดูน่าสนใจ และมีการจัดวางตำแหน่งของเมนูคำสั่งต่าง ๆ ให้มีความสะดุดตา น่าค้นหา และการตกแต่งหน้าเว็บมีรูปที่สื่อถึงเว็บไซต์ของร้าน รวมทั้งการควบคุมการทำงานของระบบได้ โดยการใช้ฟังก์ชันการโปรโมทสินค้าโดยมีโปรโมชั่นพิเศษของเว็บไซต์ด้วย
        5.การติดต่อสื่อสาร (Communication)
                  เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างกันภายในเว็บไซต์ E-Commerce โดยมี 2 ลักษณะ คือ
          5.1    การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว
Site-to-User - E-Mail, E-News
User-to-Site - Guestbook, Vote
          5.2     การติดต่อสื่อสารแบบสองทาง - Chatroom

      6.การเชื่อมโยง (Connection)
                  การติดต่อกับโลกภายนอก โดยเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ปลายทางที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ นอกจากจะช่วยส่งเสริมการตลาดในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ประกอบการ ที่เป็นคู่ค้าด้วยกันแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า และผู้เยี่ยมชมในการเข้าถึงข้อมูลปลายทางที่สนใจได้โดยตรงอีกด้วย

     7.การทำธุรกรรม (Commerce)
                  เว็บไซต์ มีการออกแบบวิธีการในการทำรายการสั่งซื้อสินค้าอย่างเป็นขั้นตอน พร้อมทั้งอธิบายรายละเอียดของวิธีการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนในทุก ๆ กิจกรรม ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า และเป็นการป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดขึ้น อันเนื่องมาจากการไม่เข้าใจถึงวิธีการและกฎเกณฑ์ต่างๆ
>>ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีการจองทัวร์ของเว็บไซต์<<




EX.II >> http://www.hearbeats.com/  เว็บการขายสินค้า ประเภทหูฟัง

:: ภาพตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ www.hearbeats.com/ ::

  1. รูปลักษณ์ (Context)
    มีโครงสร้างรูปแบบและการจัดวางขององค์ประกอบต่าง ๆ โดยรวมภายในเว็บไซต์ที่มี
    ความเหมาะสมในการช่วยสื่อความหมายให้เว็บไซต์มีการเข้าใช้งานง่ายและสามารถ
    เข้าไปดูเนื้อหาหรือรายละเอียดของเว็บไซต์ได้อย่างทั่วถึง
    หลักการจัดวางองค์ประกอบของเว็บไซต์
    - Page Variants
    - Fragment Variants
    - Frame-Based
  2. เนื้อหา (Content)
    เนื้อหาของเว็บเพจจะเป็นข้อความ (Text) และมีการผสมผสานระหว่างข้อความ ภาพนิ่ง
    ภาพเคลื่อนไหวเข้าด้วยกัน เป็นสื่อปฏิสัมพันธ์ โดยเนื้อหาทั้งหมดของหน้าเว็บไซต์นี้มี
    ความชัดเจน เป็นระเบียบ ถูกต้องสวยงาม มีความน่าสนใจในการเข้าดูเว็บไซต์ และมี
    ข้อมูลเป็นปัจจุบัน



    >>ภาพแสดงสินค้าของเว็บไซต์<<

  3. ชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสาร (Community)
    การออกแบบเว็บไซต์นี้ เป็นการคำนึงถึงเครื่องมือที่ใช้สำหรับติดต่อระหว่างกันภายใน
    ชุมชนหรือการที่ลูกค้าหลาย ๆ คนเกิดความสนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อให้อำนวยความ
    สะดวกในการแสดงข้อคิดเห็นของลูกค้า และทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร
    ให้กับลูกค้าได้ ทั้งทางด้าน E-mail และ Web Board

    >>ภาพแสดงหน้า Web Board<<
  4. การปรับแต่ง (Customization)
    การออกแบบเว็บไซต์นี้ มีการตกแต่งรูปลักษณ์ให้ดูน่าสนใจ และมีการจัดวางตำแหน่ง
    ของเมนูคำสั่งต่าง ๆ ให้มีความสะดุดตา น่าค้นหา และการตกแต่งหน้าเว็บมีรูปที่สื่อถึง
    เว็บไซต์ของร้าน รวมทั้งการควบคุมการทำงานของระบบได้ โดยการใช้ฟังก์ชันการ
    โปรโมทสินค้าโดยมีโปรโมชั่นพิเศษของเว็บไซต์ด้วย


  5. การติดต่อสื่อสาร (Communication)
    เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างกันภายในเว็บไซต์ E-Commerce โดยมี 2 ลักษณะ คือ
    1. การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว
        1.1) Site-to-User - E-Mail, E-News
        1.2) User-to-Site - Guestbook, Vote
    2. การติดต่อสื่อสารแบบสองทาง - Chatroom



    >>ภาพแสดงการติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว<<
  6. การเชื่อมโยง (Connection)
    การติดต่อกับโลกภายนอก โดยเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ปลายทางที่เกี่ยวข้องกับการ
    ดำเนินธุรกิจ นอกจากจะช่วยส่งเสริมการตลาดในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้
    ประกอบการ ที่เป็นคู่ค้าด้วยกันแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า และผู้เยี่ยมชม
    ในการเข้าถึงข้อมูลปลายทางที่สนใจได้โดยตรงอีกด้วย
  7. การทำธุรกรรม (Commerce)
    เว็บไซต์ มีการออกแบบวิธีการในการทำรายการสั่งซื้อสินค้าอย่างเป็นขั้นตอน พร้อม
    ทั้งอธิบายรายละเอียดของวิธีการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนในทุก ๆ กิจกรรม
    ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า และเป็นการป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดขึ้น
    อันเนื่องมาจากการไม่เข้าใจถึงวิธีการและกฎเกณฑ์ต่างๆ

                                                               >>ภาพแสดงการแจ้งชำระเงินผ่านธนาคาร<<

7 ปัจจัยที่ทำให้การออกแบบเว็บไซต์โดดเด่น (7Cs)

7Cs (context Content community Customization Communication Connection Commerce 



          เว็บไซท์ที่ประสบความสำเร็จ ทาง e-marketing และ  e-purchasing มองในแง่ของการออกแบบแล้วปัจจัยที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ เลยก็คือรูปแบบที่สวยงามดึงดูดใจของผู้เยี่ยมชม ซึ่งเว็บไซที่ได้ผลลัพท์ที่ดีในแง่ของ e-marketing นั้น โดยรวมแล้วควรมีปัจจัยที่โดดเด่น 7 ประการ ที่เรียกว่า 7Cs คือ

1. Context Factors : การวางรูปแบบและการออกแบบ ให้เว็บไซท์มีสะดวกในการใช้งานและมีความสวยงาม
2. Content Factors : ข้อความ ภาพ เสียง วีดีโอ ที่ประกอบอยู่ในเวบไซท์นั้น เนื้อหาต้องน่าสนใจ เป็นประโยชน์ และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
3. Community Factors : เวบไซท์ต้องส่งเสริมสนับสนุนความสามารถในการสื่อสารของผู้ใช้ถึงผู้ใช้
4. Customization Factors : เวบไซท์ต้องมีความสามารถที่รองรับ ต่อการปรับให้เข้ากันได้กับลักษณะที่แตกต่างกันของผู้ใช้ หรือให้ผู้ใช้สามารถกำหนดได้เฉพาะตัว
5. Communication Factors : เวบไซท์ต้องมีความสามารถและเกิดการสื่อสารแบบสองทาง คือ ต้องสามารถสื่อสารได้จากเว็บไซท์ถึงผู้ใช้ และ จากผู้ใช้ถึงเวบไซท์ได้
6. Connection Factors : เว็บไซท์ต้องสามารถเชื่อมโยงติดต่อกับเว็บไซท์อื่นๆ ได้
7. Commerce Facotors : เว็บไซท์ต้องสามารถที่จะทำให้เกิดธุรกรรมในการ ซื้อ-ขาย ได้

                 การสร้าง Blog หรือ Website เพื่อการตลาดแบบ Affiliate Marketing นั้น การทำ SEO (Search Engine Optimize) เพื่อทำให้เว็บไซท์หรือบล็อกของเราปรากฎในหน้าแรกของผลการค้นหา (Search Result) ได้นั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำก็จริง แต่เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกค้ากลับมาเยือนเว็บไซท์เราบ่อยๆ เราก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน Context และ Content อย่างมากเช่นกัน
                 ปัจจัยด้านรูปแบบ (Context Factors) : การตัดสินใจของผู้มาเยือนต่อความสะดวกในการใช้งานเว็บไซท์ อย่างน้อยเว็บไซท์ควรมี 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. Web Site สามารถ download ได้รวดเร็ว
2. หน้าแรกของเว็บไซท์ต้องเข้าใจได้ง่าย
3. ผู้มาเยือนสามารถนำร่องไปยังหน้า(Pages) อื่นๆ และเปิดได้อย่างรวดเร็ว
              ปัจจัยด้านเนื้อหา (Content factors) : Content มีส่วนช่วยให้มีการกลับมาเยือนเว็บไซท์ใหม่ได้ โดยเว็บไซท์ต้องมีเนื้อหาที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เนื้อหาที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. ข่าวสารมีความลึกซึ้งมีความเชื่อมโยงกับเว็บไซท์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
2. ข่าวสารต้องมีความเปลี่ยนแปลงและน่าสนใจอยู่เสมอ
3. มีของแถมฟรีแก่ผู้เข้ามาเยือนที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
4. มีการประกวดแข่งขันและพนันจับสลาก
5. มีเรื่องตลกขำขัน และ หก มีเกมส์ต่างๆ
          ปัจจัยด้านความสวยงามทางกายภาพของเวบไซท์ ก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน จึงต้องใส่ใจต่อองค์ประกอบด้านความสวยงามของ Blog หรือ Website ดังนี้
1. แต่ละ pages ต้องดูสะอาดตาและไม่มีเนื้อหาที่แน่นจนเกินไป
2. แบบและขนาดของตัวอักษรต้องสามารถอ่านได้ง่าย
3. เว็บไซท์ต้องรู้จักใช้ประโยชน์ของสีและเสียงได้อย่างลงตัวกลมกลืนได้เป็นอย่างดี





7'Cs of Efficiency Communication





ประสิทธิภาพของการสื่อสารว่า ประกอบด้วยหลักสำคัญ 7 ประการ (The 7 Cs of Communication) คือ
1.ความน่าเชื่อถือ (credibility)
..............การติดต่อสื่อสารเริ่มต้นด้วยบรรยากาศแห่งความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร (sender) ซึ่งจะทำให้ผู้รับสาร (receiver) เกิดความเชื่อมั่นในแหล่งสาร ซึ่งผลแห่งความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสารนี้ ย่อมจะมีไปถึงเนื้อหา สาระ เรื่องราว และข่าวสารด้วย
..............ปัจจัยสำคัญของความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร ประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการ คือ ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ (expertise) ความน่าไว้วางใจ (trustworthiness) และความน่าดึงดูดใจ (attractiveness) 
2.ความเหมาะสมกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม (context)
..............การสื่อสารจะต้องเหมาะสมกลมกลืนกับความจริงของสภาพแวดล้อม โดยอาจมีการนำเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เข้ามาใช้สนับสนุนหรือเสริมคำพูด สาร และการกระทำต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ การติดต่อสื่อสารยังจะต้องมีความเหมาะสมกับสถานภาพในสังคมและวัฒนธรรม 
(position within a social  cultural system) อีกด้วย
..............ผู้รับสารที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน จะมีความสนใจต่อข่าวสารแตกต่างกันตามทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (individual differences theory) กล่าวคือ บุคคลมีความแตกต่างกันในด้านบุคลิกภาพ และสภาพทางจิตวิทยา ซึ่งความแตกต่างกันดังกล่าวนี้ เป็นเพราะบุคคลมีการเรียนรู้จากสังคมแตกต่างกัน โดยที่บุคคลที่อยู่ต่างสภาพแวดล้อมกัน จะได้รับการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน รวมถึงการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้บุคคลมีทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อและบุคลิกภาพแตกต่างกัน
3.เนื้อหาสาระ (content)
..............การติดต่อสื่อสารนั้น เนื้อหาสาระของข่าวสารต้องมีความหมายเป็นที่น่าสนใจต่อผู้รับสารเสมอและต้องสอดคล้อง ไม่ขัดแย้งต่อวัฒนธรรมและค่านิยมในสังคมของผู้รับสาร เพราะหากข่าวสารใดขัดแย้งต่อค่านิยมและความเชื่อในสังคมนั้น ผู้รับสารย่อมปฏิเสธการรับข่าวสารและต่อต้าน ไม่ปฏิบัติตามได้ ในทางตรงข้าม ผู้รับสารจะเลือกรับข่าวสารที่คาดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง เมื่อข่าวสารแสดงถึงการได้สิทธิประโยชน์ และให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ ผู้รับสารย่อมสนใจและเลือกที่จะเปิดรับ ตลอดจนปฏิบัติตามเนื้อหาในข่าวสารนั้น
4.ความชัดเจน (clarity)
..............เนื้อหาสาระของข่าวสารจะต้องมีความชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร ผู้ส่งสารควรหลีกเลี่ยงการใช้ข่าวสารที่มีความสลับซับซ้อนเข้าใจยาก ในทางกลับกัน ผู้ส่งสารควรมีการตัดสินใจในการเลือกใช้และเรียบเรียงเนื้อหาสาระของสารให้สั้น กระชับ ชัดเจน และง่ายต่อความเข้าใจ
5.ความต่อเนื่องและความสม่ำเสมอ (continuity and consistency)
..............การติดต่อสื่อสารเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการย้ำเตือน (repetition) เสมอ เพื่อให้สารนั้นเข้าถึงในจิตใจของผู้รับสารให้ความเห็นว่า การส่งสารซ้ำหลายครั้งจะทำให้สารนั้นถูกยอมรับโดยผู้รับสารมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้รับสารจำเนื้อสารได้ดีขึ้นและสารนั้นจะมีประสิทธิภาพในการจูงใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย 
6.ช่องทางในการสื่อสาร (channels)
..............ช่องทางในการสื่อสาร คือ ตัวเชื่อมระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร (the connecting link) ทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถทำการติดต่อสื่อสารกันได้ ผู้ส่งสารจึงจำเป็นต้องมีช่องทางในการสื่อสารหรือสื่อที่สามารถเลือกใช้เพื่อนำไปสู่ผู้รับสารได้ ช่องทางในการสื่อสารมีมากมายหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตัว มีคุณค่าและให้ผลทางการสื่อสารที่แตกต่างกัน 
..............ช่องทางในการสื่อสารหรือสื่อจึงมีความหมายครอบคลุมถึงสื่อที่เป็นพาหะนำสารได้แก่ภาษา (language) คือ วัจนภาษา (verbal language) เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน และอวัจนภาษา (non verbal language) เช่น ภาษาท่าทาง รูปภาพ ตลอดจนเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ต่าง ๆ ที่ช่วยนำสารไปได้อย่างรวดเร็ว จำนวนมากและชัดเจน ได้แก่ การนำเอาสื่อหลายชนิดมาใช้ร่วมกันในการส่งสารไปยังผู้รับสารที่เรียกว่า สื่อผสม (media mix / multi - media) เพื่อให้สารนั้นเข้าถึง (reach) กลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด โดยผู้รับสารสามารถรับสารนั้นได้จากหลายช่องสาร
7.วัดความสามารถของผู้รับสาร (capability of audience)
..............การติดต่อสื่อสารนั้นต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้รับสาร ซึ่งประกอบด้วยทักษะในการสื่อสาร (communication skills) เช่น ความคิดและความสามารถในการใช้ภาษา (thought and language competence) ความสามารถในการอ่าน (reading ability) รวมทั้งพื้นฐานความรู้และระดับการศึกษาของผู้รับสาร (receiver s knowledge) ซึ่งล้วนแต่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการตีความหมายของผู้รับสาร