วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิธีการโปรโมทเว็บไซต์

โปรโมทเว็บไซต์คืออะไร จำเป็นหรือไม่

          การโปรโมทเว็บไซต์นั้นคืออะไร  สำหรับการโปรโมทเว็บไซต์นั้นถ้าเอาตามหลักความเข้าใจของผู้รีวิวแล้วละก็มันคือการ ทำแบล็คลิ้งค์อย่างนึงให้กับเว็บซึ่งการโปรโมทนั้นจะมีมากมายหลากหลายช่องทาง ที่เห็นชัด ๆ ก็จะมีแบบเป็นการติด Banner หรือว่าจะเป็นการโปรโมทผ่านเว็บโพสเว็บฟรี หรือว่าจะเป็นการลงโฆษณาบน YouTube พวกนี้เราจะเรียกว่าการโปรโมททั้งหมด 
          การโปรโมทเว็บไซต์ช่วยอะไร จำเป็นหรือไม่? อาธิหากคุณเปิดเว็บขายรองเท้าหนึ่งเว็บ หากคุณจะมีลูกค้ามาซื้อรองเท้าในร้านคุณ มันก็ต้องผ่านการโปรโมทมาก่อนนั่นเอง เพราะไม่อย่างนั้นแล้วละก็ ลูกค้าจะมาจากไหน ใครจะมารู้จักร้านคุณเลยคงเป็นไปไม่ได้จริงไหม ดังนั้นจึงต้องมีการโปรโมทร้านค้าด้วยการทำโฆษณาต่าง ๆ ก่อนนั่นเอง การทำโฆษณานั้นมีมากมายโดยคุณสามารถหาผ่าน Google ได้ ว่าการหาแบล็คลิ้งค์นั้นทำได้โดยวิธีไหนบ้าง  นอกจากนี้แล้วละก็การโฆษณานั้นยังช่วยให้คนรู้จักเว็บของคุณได้มากขึ้นเผลอ ๆ อาจจะมีออเดอร์เข้ามานั่นเอง ดังนั้นแล้วละก็การโปรโมทเว็บนั้นเรียกว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ ทีเดียวเลย เป็นจำเป็นมากในการโปรโมทเว็บไซต์


โปรโมทอย่างไร ใช้เครื่องมือใดบ้าง

โปรโมทโดย Google มีเครื่องมือดังต่อไปนี้
          1. Google Analytics
          2. Google Sitemaps
          3. Google Alerts
          4. Google Froogle
          5. Google Checkout


เทคนิคของ SEO ที่สำคัญมีอะไร

          1. เพิ่มประสิทธิภาพแท็ก title สำหรับเนื้อหา
          2. สร้างคำอธิบาย meta ที่กระตุ้นความสนใจ
          3. ใส่คีย์เวิร์คที่เหมาะไปทั่วทั้งเนื้อหาบนเว็บ และเนื้อหาออนไลน์
          4. สร้างการเชื่อมโยงภายในเนื้อหา
          5. ปรับปรุงเนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณเป็นประจำ


Search engine ที่นิยมใช้โปรโมท

          1. Google
          2. bing
          3. Yahoo
          4. Ask
          5. Aol Search
          6. MyWebSearch
          7. blekko
          8. Lycos
          9. Dogpile
          10. WebCrawler

WWW.FINDGIFT.COM

ทดลองและวิจารย์ข้อดี - ข้อเสีย http://www.findgift.com


ทดลองและวิจารย์ข้อดี - ข้อเสีย 
ข้อดี
- ทำการค้าออนไลน์มีความอิสระ ไร้พรมแดน มากกว่าธุรกิจประเภทอื่นๆ
- ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าของเราได้ทุกที่
- มีต้นทุนในการเปิดเว็บไซต์เพื่อขายสินค้าต่ำ
- ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน หรือเช่าพื้นที่ขาย ก็สามารถขายของได้
- มีความสะดวกสบาย
- เพิ่มโอกาสทางการตลาด
- ไม่จำเป็นที่จะต้องมีพนักงานก็สามารถขายได้
- เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างชัดเจน
- ลูกค้าสามารถรอรับสินค้าที่หน้าบ้านได้เลย
- สามารถวัดผล เก็บสถิติ และวิเคราะห์การขายได้
- สามารถติดต่อสื่อสาร พูดคุย ให้ข้อมูลกับลูกค้าได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
- การชำระเงินมีความสะดวก สบาย และทันสมัยโดยผ่านระบบออนไลน์,บัตรเครดิต
- ดูแลจัดการง่าย
- สามารถทำคนเดียวได้แบบสบายๆ
- ไม่จำเป็นต้องมีสต๊อกสินค้า
- สามารถขายสินค้าได้ทุกแบบ ทุกอย่าง ทุกชนิด (เดี๋ยวนี้มีการสั่งอาหารออนไลน์เกิดขึ้นแล้ว)
- สามารถรองรับลูกค้าได้ทั่วทุกมุมโลก (คนทุกกลุ่มวัยสามารถเข้าถึงสินค้า)
- มีการสนับสนุนจากทางภาครัฐและเอกชนกันมากขึ้น

ข้อเสีย
- หน้าเว็บไม่มีจุดจูงใจ
- เรียบง่ายเกินไป ทำให้ไม่มีความน่าสนใจ
- ให้ภาษาไม่ค่อยถูกต้อง
- รูปแบบตัวหนังสือดูไม่ค่อยน่าสนใจ
- เว็บไซต์มีเนื้อหาเยอะเกินไปดูรกตา
- ลูกค้าบางท่านยังไม่เชื่อมั่นกล้าที่จะตัดสินใจซื้อ
มีการแข่งขันสูง ใครๆ ก็สามารถทำได้เพราะมันง่าย เราทำ เขาก็ทำ

เว็บไซต์ระบบงาน E-Commerce

ระบบ Store front 

http://pages.ebay.com/storefronts/start.html



ระบบ Web Portal 

          "เว็บท่า"  คือแหล่งรวบรวมข้อมูลที่ต้องการจากเว็บไซต์ต่างๆ อาทิ ราคาหุ้น, รายการบันเทิง, ข่าว และอื่นๆ ไว้ในหน้าต่างที่แตกต่างกัน แต่สามารถดูได้ในคราวเดียว ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่เสียเวลาเข้าเว็บไซต์หลายๆ แห่งในการใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละครั้งคะ ตัวอย่างเช่น เว็บกระปุก


ระบบ E-procurement

           E-Procurement หรือ Electronic Procurement  คือ กระบวนการจัดซื้อ–จัดจ้างออนไลน์ ดำเนินการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นระบบที่ผสมผสานการทำงานระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย สามารถให้ข้อมูลสำคัญต่างๆ ช่วยในการตัดสินใจในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการได้ดียิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2550


http://sdrv.ms/1dnVoXR


หาข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อต่อไปนี้


pdf sec_roy_dec_be2553.pdf:                                                                                                                                                                                                    พรฎ.ว่าด้วยวิธีการแบบปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2553


pdf payment_noreq_ict_royal_dec_be2549.pdf
          พรฎ.กำหนดประเภทธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ทยกเว้นมิให้นำ กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคบ พ.ศ. 2549

pdf egov_royal_dec_be2549.pdf
          พรฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธ๊การในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549

pdf security_guideline_egov_anno.pdf: 
          ประกาศ แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยดานสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2553

pdf epay_royal_dec_be2551.pdf
          พรฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551


pdf epay_rules_etc_announced_2552.pdf
          ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๒

pdf emoney_ser_kor_acc_bot_announcde_2552_no.1.pdf:
          ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. ๑/๒๕๕๒ เรื่อง การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามบัญชี ก ที่ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนให้บริการ

pdf epay_ctrl_rules_bot_announced_2552_no.2.pdf:
          ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. ๒/๒๕๕๒ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการ การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์


pdf epay_it_security_bot_announced_2552_no.3.pdf
          ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. ๓/๒๕๕๒ เรื่อง นโยบายและมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ ในการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์


pdf epay_ctrl_officer_bot_announced_2552_no.4.pdf:
          ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สรข. ๔/๒๕๕๒ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๑
pdf cp_cps_announced_2552.pdf:
          ประกาศแนวทางการจัดทาแนวนโยบาย (Certificate Policy) และแนวปฏิบติ (Certification Practice Statement) ของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority) พ.ศ. 2552


*********************************************************************************************************************************



กฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


pdf computer_related_crime_act_BE2550.pdf:
           พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
           Computer - Related Crime Act B.E. 2550 (พรบ. ฉบับแปลภาษาอังกฤษ)

           คำอธิบายเกี่ยวกับ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550



วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

E-commerce

ตัวอย่าง E-commerce



E-Commerce:: Design ตามหลัก 7Cs

        ยกตัวอย่างเว็บไซต์ E-commerce มาคนละ 2 เว็บ อธิบายเทคนิคที่เว็บไซต์ใช้ในการdesign ตามหลัก 7Cs (context Content community Customization Communication Connection Commerce

EX.I  >> http://www.goodchilltravel.com/  เว็บการพาทัวร์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ


 :: ภาพตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ www.goodchilltravel.com ::

  1. รูปลักษณ์ (Context)
    มีโครงสร้างรูปแบบและการจัดวางขององค์ประกอบต่าง ๆ โดยรวมภายในเว็บไซต์ที่มี
    ความเหมาะสมในการช่วยสื่อความหมายให้เว็บไซต์มีการเข้าใช้งานง่ายและสามารถ
    เข้าไปดูเนื้อหาหรือรายละเอียดของเว็บไซต์ได้อย่างทั่วถึง
    หลักการจัดวางองค์ประกอบของเว็บไซต์
    - Page Variants
    - Fragment Variants
    - Frame-Based
  2. เนื้อหา (Content)
  1. เนื้อหาของเว็บเพจจะเป็นข้อความ (Text) และมีการผสมผสานระหว่างข้อความ ภาพนิ่ง
    ภาพเคลื่อนไหวเข้าด้วยกัน เป็นสื่อปฏิสัมพันธ์ โดยเนื้อหาทั้งหมดของหน้าเว็บไซต์นี้มี
    ความชัดเจน เป็นระเบียบ ถูกต้องสวยงาม มีความน่าสนใจในการเข้าดูเว็บไซต์ และมี
    ข้อมูลเป็นปัจจุบัน

    >>ภาพแสดงสินค้าของเว็บไซต์<<
    3. ชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสาร (Community)
                     การออกแบบเว็บไซต์นี้ เป็นการคำนึงถึงเครื่องมือที่ใช้สำหรับติดต่อระหว่างกันภายในชุมชนหรือการที่ลูกค้าหลาย ๆ คนเกิดความสนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อให้อำนวยความสะดวกในการแสดงข้อคิดเห็นของลูกค้า และทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารให้กับลูกค้าได้ ทั้งทางด้าน E-mail และ Web Board
      
         4.การปรับแต่ง (Customization)
                   การออกแบบเว็บไซต์นี้ มีการตกแต่งรูปลักษณ์ให้ดูน่าสนใจ และมีการจัดวางตำแหน่งของเมนูคำสั่งต่าง ๆ ให้มีความสะดุดตา น่าค้นหา และการตกแต่งหน้าเว็บมีรูปที่สื่อถึงเว็บไซต์ของร้าน รวมทั้งการควบคุมการทำงานของระบบได้ โดยการใช้ฟังก์ชันการโปรโมทสินค้าโดยมีโปรโมชั่นพิเศษของเว็บไซต์ด้วย
        5.การติดต่อสื่อสาร (Communication)
                  เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างกันภายในเว็บไซต์ E-Commerce โดยมี 2 ลักษณะ คือ
          5.1    การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว
Site-to-User - E-Mail, E-News
User-to-Site - Guestbook, Vote
          5.2     การติดต่อสื่อสารแบบสองทาง - Chatroom

      6.การเชื่อมโยง (Connection)
                  การติดต่อกับโลกภายนอก โดยเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ปลายทางที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ นอกจากจะช่วยส่งเสริมการตลาดในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ประกอบการ ที่เป็นคู่ค้าด้วยกันแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า และผู้เยี่ยมชมในการเข้าถึงข้อมูลปลายทางที่สนใจได้โดยตรงอีกด้วย

     7.การทำธุรกรรม (Commerce)
                  เว็บไซต์ มีการออกแบบวิธีการในการทำรายการสั่งซื้อสินค้าอย่างเป็นขั้นตอน พร้อมทั้งอธิบายรายละเอียดของวิธีการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนในทุก ๆ กิจกรรม ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า และเป็นการป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดขึ้น อันเนื่องมาจากการไม่เข้าใจถึงวิธีการและกฎเกณฑ์ต่างๆ
>>ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีการจองทัวร์ของเว็บไซต์<<




EX.II >> http://www.hearbeats.com/  เว็บการขายสินค้า ประเภทหูฟัง

:: ภาพตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ www.hearbeats.com/ ::

  1. รูปลักษณ์ (Context)
    มีโครงสร้างรูปแบบและการจัดวางขององค์ประกอบต่าง ๆ โดยรวมภายในเว็บไซต์ที่มี
    ความเหมาะสมในการช่วยสื่อความหมายให้เว็บไซต์มีการเข้าใช้งานง่ายและสามารถ
    เข้าไปดูเนื้อหาหรือรายละเอียดของเว็บไซต์ได้อย่างทั่วถึง
    หลักการจัดวางองค์ประกอบของเว็บไซต์
    - Page Variants
    - Fragment Variants
    - Frame-Based
  2. เนื้อหา (Content)
    เนื้อหาของเว็บเพจจะเป็นข้อความ (Text) และมีการผสมผสานระหว่างข้อความ ภาพนิ่ง
    ภาพเคลื่อนไหวเข้าด้วยกัน เป็นสื่อปฏิสัมพันธ์ โดยเนื้อหาทั้งหมดของหน้าเว็บไซต์นี้มี
    ความชัดเจน เป็นระเบียบ ถูกต้องสวยงาม มีความน่าสนใจในการเข้าดูเว็บไซต์ และมี
    ข้อมูลเป็นปัจจุบัน



    >>ภาพแสดงสินค้าของเว็บไซต์<<

  3. ชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสาร (Community)
    การออกแบบเว็บไซต์นี้ เป็นการคำนึงถึงเครื่องมือที่ใช้สำหรับติดต่อระหว่างกันภายใน
    ชุมชนหรือการที่ลูกค้าหลาย ๆ คนเกิดความสนใจในเรื่องเดียวกัน เพื่อให้อำนวยความ
    สะดวกในการแสดงข้อคิดเห็นของลูกค้า และทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร
    ให้กับลูกค้าได้ ทั้งทางด้าน E-mail และ Web Board

    >>ภาพแสดงหน้า Web Board<<
  4. การปรับแต่ง (Customization)
    การออกแบบเว็บไซต์นี้ มีการตกแต่งรูปลักษณ์ให้ดูน่าสนใจ และมีการจัดวางตำแหน่ง
    ของเมนูคำสั่งต่าง ๆ ให้มีความสะดุดตา น่าค้นหา และการตกแต่งหน้าเว็บมีรูปที่สื่อถึง
    เว็บไซต์ของร้าน รวมทั้งการควบคุมการทำงานของระบบได้ โดยการใช้ฟังก์ชันการ
    โปรโมทสินค้าโดยมีโปรโมชั่นพิเศษของเว็บไซต์ด้วย


  5. การติดต่อสื่อสาร (Communication)
    เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างกันภายในเว็บไซต์ E-Commerce โดยมี 2 ลักษณะ คือ
    1. การติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว
        1.1) Site-to-User - E-Mail, E-News
        1.2) User-to-Site - Guestbook, Vote
    2. การติดต่อสื่อสารแบบสองทาง - Chatroom



    >>ภาพแสดงการติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว<<
  6. การเชื่อมโยง (Connection)
    การติดต่อกับโลกภายนอก โดยเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ปลายทางที่เกี่ยวข้องกับการ
    ดำเนินธุรกิจ นอกจากจะช่วยส่งเสริมการตลาดในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้
    ประกอบการ ที่เป็นคู่ค้าด้วยกันแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า และผู้เยี่ยมชม
    ในการเข้าถึงข้อมูลปลายทางที่สนใจได้โดยตรงอีกด้วย
  7. การทำธุรกรรม (Commerce)
    เว็บไซต์ มีการออกแบบวิธีการในการทำรายการสั่งซื้อสินค้าอย่างเป็นขั้นตอน พร้อม
    ทั้งอธิบายรายละเอียดของวิธีการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจนในทุก ๆ กิจกรรม
    ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า และเป็นการป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดขึ้น
    อันเนื่องมาจากการไม่เข้าใจถึงวิธีการและกฎเกณฑ์ต่างๆ

                                                               >>ภาพแสดงการแจ้งชำระเงินผ่านธนาคาร<<

7 ปัจจัยที่ทำให้การออกแบบเว็บไซต์โดดเด่น (7Cs)

7Cs (context Content community Customization Communication Connection Commerce 



          เว็บไซท์ที่ประสบความสำเร็จ ทาง e-marketing และ  e-purchasing มองในแง่ของการออกแบบแล้วปัจจัยที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ เลยก็คือรูปแบบที่สวยงามดึงดูดใจของผู้เยี่ยมชม ซึ่งเว็บไซที่ได้ผลลัพท์ที่ดีในแง่ของ e-marketing นั้น โดยรวมแล้วควรมีปัจจัยที่โดดเด่น 7 ประการ ที่เรียกว่า 7Cs คือ

1. Context Factors : การวางรูปแบบและการออกแบบ ให้เว็บไซท์มีสะดวกในการใช้งานและมีความสวยงาม
2. Content Factors : ข้อความ ภาพ เสียง วีดีโอ ที่ประกอบอยู่ในเวบไซท์นั้น เนื้อหาต้องน่าสนใจ เป็นประโยชน์ และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
3. Community Factors : เวบไซท์ต้องส่งเสริมสนับสนุนความสามารถในการสื่อสารของผู้ใช้ถึงผู้ใช้
4. Customization Factors : เวบไซท์ต้องมีความสามารถที่รองรับ ต่อการปรับให้เข้ากันได้กับลักษณะที่แตกต่างกันของผู้ใช้ หรือให้ผู้ใช้สามารถกำหนดได้เฉพาะตัว
5. Communication Factors : เวบไซท์ต้องมีความสามารถและเกิดการสื่อสารแบบสองทาง คือ ต้องสามารถสื่อสารได้จากเว็บไซท์ถึงผู้ใช้ และ จากผู้ใช้ถึงเวบไซท์ได้
6. Connection Factors : เว็บไซท์ต้องสามารถเชื่อมโยงติดต่อกับเว็บไซท์อื่นๆ ได้
7. Commerce Facotors : เว็บไซท์ต้องสามารถที่จะทำให้เกิดธุรกรรมในการ ซื้อ-ขาย ได้

                 การสร้าง Blog หรือ Website เพื่อการตลาดแบบ Affiliate Marketing นั้น การทำ SEO (Search Engine Optimize) เพื่อทำให้เว็บไซท์หรือบล็อกของเราปรากฎในหน้าแรกของผลการค้นหา (Search Result) ได้นั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำก็จริง แต่เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกค้ากลับมาเยือนเว็บไซท์เราบ่อยๆ เราก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน Context และ Content อย่างมากเช่นกัน
                 ปัจจัยด้านรูปแบบ (Context Factors) : การตัดสินใจของผู้มาเยือนต่อความสะดวกในการใช้งานเว็บไซท์ อย่างน้อยเว็บไซท์ควรมี 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. Web Site สามารถ download ได้รวดเร็ว
2. หน้าแรกของเว็บไซท์ต้องเข้าใจได้ง่าย
3. ผู้มาเยือนสามารถนำร่องไปยังหน้า(Pages) อื่นๆ และเปิดได้อย่างรวดเร็ว
              ปัจจัยด้านเนื้อหา (Content factors) : Content มีส่วนช่วยให้มีการกลับมาเยือนเว็บไซท์ใหม่ได้ โดยเว็บไซท์ต้องมีเนื้อหาที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เนื้อหาที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. ข่าวสารมีความลึกซึ้งมีความเชื่อมโยงกับเว็บไซท์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
2. ข่าวสารต้องมีความเปลี่ยนแปลงและน่าสนใจอยู่เสมอ
3. มีของแถมฟรีแก่ผู้เข้ามาเยือนที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
4. มีการประกวดแข่งขันและพนันจับสลาก
5. มีเรื่องตลกขำขัน และ หก มีเกมส์ต่างๆ
          ปัจจัยด้านความสวยงามทางกายภาพของเวบไซท์ ก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน จึงต้องใส่ใจต่อองค์ประกอบด้านความสวยงามของ Blog หรือ Website ดังนี้
1. แต่ละ pages ต้องดูสะอาดตาและไม่มีเนื้อหาที่แน่นจนเกินไป
2. แบบและขนาดของตัวอักษรต้องสามารถอ่านได้ง่าย
3. เว็บไซท์ต้องรู้จักใช้ประโยชน์ของสีและเสียงได้อย่างลงตัวกลมกลืนได้เป็นอย่างดี





7'Cs of Efficiency Communication





ประสิทธิภาพของการสื่อสารว่า ประกอบด้วยหลักสำคัญ 7 ประการ (The 7 Cs of Communication) คือ
1.ความน่าเชื่อถือ (credibility)
..............การติดต่อสื่อสารเริ่มต้นด้วยบรรยากาศแห่งความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร (sender) ซึ่งจะทำให้ผู้รับสาร (receiver) เกิดความเชื่อมั่นในแหล่งสาร ซึ่งผลแห่งความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสารนี้ ย่อมจะมีไปถึงเนื้อหา สาระ เรื่องราว และข่าวสารด้วย
..............ปัจจัยสำคัญของความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร ประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการ คือ ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ (expertise) ความน่าไว้วางใจ (trustworthiness) และความน่าดึงดูดใจ (attractiveness) 
2.ความเหมาะสมกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม (context)
..............การสื่อสารจะต้องเหมาะสมกลมกลืนกับความจริงของสภาพแวดล้อม โดยอาจมีการนำเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ เข้ามาใช้สนับสนุนหรือเสริมคำพูด สาร และการกระทำต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ การติดต่อสื่อสารยังจะต้องมีความเหมาะสมกับสถานภาพในสังคมและวัฒนธรรม 
(position within a social  cultural system) อีกด้วย
..............ผู้รับสารที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน จะมีความสนใจต่อข่าวสารแตกต่างกันตามทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล (individual differences theory) กล่าวคือ บุคคลมีความแตกต่างกันในด้านบุคลิกภาพ และสภาพทางจิตวิทยา ซึ่งความแตกต่างกันดังกล่าวนี้ เป็นเพราะบุคคลมีการเรียนรู้จากสังคมแตกต่างกัน โดยที่บุคคลที่อยู่ต่างสภาพแวดล้อมกัน จะได้รับการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน รวมถึงการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้บุคคลมีทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อและบุคลิกภาพแตกต่างกัน
3.เนื้อหาสาระ (content)
..............การติดต่อสื่อสารนั้น เนื้อหาสาระของข่าวสารต้องมีความหมายเป็นที่น่าสนใจต่อผู้รับสารเสมอและต้องสอดคล้อง ไม่ขัดแย้งต่อวัฒนธรรมและค่านิยมในสังคมของผู้รับสาร เพราะหากข่าวสารใดขัดแย้งต่อค่านิยมและความเชื่อในสังคมนั้น ผู้รับสารย่อมปฏิเสธการรับข่าวสารและต่อต้าน ไม่ปฏิบัติตามได้ ในทางตรงข้าม ผู้รับสารจะเลือกรับข่าวสารที่คาดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง เมื่อข่าวสารแสดงถึงการได้สิทธิประโยชน์ และให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ ผู้รับสารย่อมสนใจและเลือกที่จะเปิดรับ ตลอดจนปฏิบัติตามเนื้อหาในข่าวสารนั้น
4.ความชัดเจน (clarity)
..............เนื้อหาสาระของข่าวสารจะต้องมีความชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร ผู้ส่งสารควรหลีกเลี่ยงการใช้ข่าวสารที่มีความสลับซับซ้อนเข้าใจยาก ในทางกลับกัน ผู้ส่งสารควรมีการตัดสินใจในการเลือกใช้และเรียบเรียงเนื้อหาสาระของสารให้สั้น กระชับ ชัดเจน และง่ายต่อความเข้าใจ
5.ความต่อเนื่องและความสม่ำเสมอ (continuity and consistency)
..............การติดต่อสื่อสารเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีการย้ำเตือน (repetition) เสมอ เพื่อให้สารนั้นเข้าถึงในจิตใจของผู้รับสารให้ความเห็นว่า การส่งสารซ้ำหลายครั้งจะทำให้สารนั้นถูกยอมรับโดยผู้รับสารมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้รับสารจำเนื้อสารได้ดีขึ้นและสารนั้นจะมีประสิทธิภาพในการจูงใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย 
6.ช่องทางในการสื่อสาร (channels)
..............ช่องทางในการสื่อสาร คือ ตัวเชื่อมระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร (the connecting link) ทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถทำการติดต่อสื่อสารกันได้ ผู้ส่งสารจึงจำเป็นต้องมีช่องทางในการสื่อสารหรือสื่อที่สามารถเลือกใช้เพื่อนำไปสู่ผู้รับสารได้ ช่องทางในการสื่อสารมีมากมายหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตัว มีคุณค่าและให้ผลทางการสื่อสารที่แตกต่างกัน 
..............ช่องทางในการสื่อสารหรือสื่อจึงมีความหมายครอบคลุมถึงสื่อที่เป็นพาหะนำสารได้แก่ภาษา (language) คือ วัจนภาษา (verbal language) เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน และอวัจนภาษา (non verbal language) เช่น ภาษาท่าทาง รูปภาพ ตลอดจนเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ต่าง ๆ ที่ช่วยนำสารไปได้อย่างรวดเร็ว จำนวนมากและชัดเจน ได้แก่ การนำเอาสื่อหลายชนิดมาใช้ร่วมกันในการส่งสารไปยังผู้รับสารที่เรียกว่า สื่อผสม (media mix / multi - media) เพื่อให้สารนั้นเข้าถึง (reach) กลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด โดยผู้รับสารสามารถรับสารนั้นได้จากหลายช่องสาร
7.วัดความสามารถของผู้รับสาร (capability of audience)
..............การติดต่อสื่อสารนั้นต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้รับสาร ซึ่งประกอบด้วยทักษะในการสื่อสาร (communication skills) เช่น ความคิดและความสามารถในการใช้ภาษา (thought and language competence) ความสามารถในการอ่าน (reading ability) รวมทั้งพื้นฐานความรู้และระดับการศึกษาของผู้รับสาร (receiver s knowledge) ซึ่งล้วนแต่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการตีความหมายของผู้รับสาร